Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/Money/335/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-LTF,RMF-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78 หลักคำนวณการซื้อ LTF,RMF หลังสรรพากรปรับกฏหมายเงินได้ใหม่ - วางแผนทางการเงิน : Wealth Creation
Blog
ติดตาม Wealth Creation

ตั้งแต่ปี 2558 กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายใหม่ ประกาศกรมสรรพากร ฉบับที่ 258 และ 259 ได้แก้ไขข้อความเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จากคำว่า “เงินได้” เป็นคำว่า “เงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้”

 

หลังจากออกกฎหมายใหม่มาแล้ว ในวันที่ 11 มกราคม 2558 ทางกรมสรรพากรได้ออกคำชี้แจงเรื่อง “การซื้อหน่วยลงทุน LTF และ RMF” เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับฐานในการคำนวณค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF และ RMF คือ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน LTF และ RMF ได้แก่ “เงินได้พึงประเมินซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ไม่ว่าเงินได้นั้นจะมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นหรือไม่ก็ตาม”

 

ซึ่งคำชี้แจงของกรมสรรพากรฉบับนี้ ทำให้ผู้เสียภาษีจะได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม เพราะเงินได้ที่สามารถใช้สิทธิเลือกเสียภาษีโดยวิธีการหัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมาคำนวณรวมกับเงินได้อื่นในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว เงินปันผลจากหุ้น หรือเงินปันผลจากกองทุนรวม สามารถนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณเพื่อซื้อ LTF และ RMF ได้ด้วย

 

ตัวอย่างเช่น มีรายได้จากเงินเดือนในปี 2559 ทั้งสิ้น 900,000 บาท มีเงินปันผลจากกองทุนรวม 100,000 บาท (เลือกถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 โดยไม่นำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น) และมีดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร 50,000 บาท

 

ดังนั้น สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมดรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,050,000 บาท (900,000 + 100,000 + 50,000) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน LTF และ RMF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

 

ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน 157,500 บาท 
(1,050,000 x 15% = 157,500)
ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน 157,500 บาท 
(1,050,000 x 15% = 157,500)

 

สำหรับเงินได้ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ไม่มีสิทธินำมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีในการซื้อหน่วยลงทุน LTF และ RMF

 

อ่านรายละเอียดคำชี้แจงของกรมสรรพากรเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
https://goo.gl/HgESzL

 

by Bird Teerapat - Wealth Strategist (WCI)

Pitiphong Roongruengvuthikul
Admin
By