Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/Money/174/%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-RMF): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78 มนุษย์เงินเดือน จะได้อะไร เมื่อย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป กองทุน RMF - วางแผนทางการเงิน : Wealth Creation
Blog
ติดตาม Wealth Creation

ปี 2558 ได้มีการปรับปรุง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฉบับใหม่ ให้โอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) ไปอยู่ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้ เพื่อให้มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการย้ายงาน หรือ นายจ้างยกเลิกกิจการ คงเงินดังกล่าวไว้

และนี่เป็นบทสัมภาษณ์ของคุณ "ดวงมน จึงเสถียรทรัพย์" ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 


Q: วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปอยู่ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงคืออะไร 

A : หากลูกจ้างออกจากงานในทุกกรณี ซึ่งรวมถึงกองทุนฯเลิกเพราะนายจ้างถอนตัว หรือนายจ้างเลิกกิจการ ทำให้ลูกจ้างต้องนำเงินออกจากกองทุนฯ แม้ว่าในช่วงแรกจะคงเงินไว้ในกองทุนของนายจ้างเดิมได้ระยะสั้นๆ ตามข้อบังคับกองทุน มีระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่หลังจากนั้นต้องนำเงินออก ทำให้ลูกจ้างกลุ่มนี้เสียโอกาสที่จะออมเงินต่อเนื่องถึงเกษียณ กฎหมายจึงหาทางออกโดยการเปิดช่องทางให้โอนเงินจาก PVD ไปออมต่อระยะยาวใน RMF 

 

Q : การย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF เท่านั้นหรือไม่ หรือสามารถย้ายไปกองทุน LTF ได้ด้วย 

A : ย้ายไปอยู่เฉพาะกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เท่านั้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เหมือนกัน โดยกองที่รับโอนเงินจาก PVD ต้องเป็นกอง RMF ที่ระบุในหนังสือชี้ชวน (Fact Sheet) ว่าเป็นระบบ RMF ที่รับโอนเงินจาก PVD ได้ เท่านั้น (RMF for PVD) เนื่องจากต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ภาษีต่างจาก RMF ปกติ และปัจจุบันมีธนาคารที่พร้อมให้บริการบ้างแล้ว อาทิ ธนาคารทหารไทย ปัจจุบันมีกองทุนรวม RMF รองรับ 13 กองทุน และธนาคารทิสโก้ ก็เริ่มเปิดให้บริการเช่นเดียวกัน 

 

Q : ขั้นตอนการโอนย้ายต้องดำเนินงานภายใน 30 วัน หลังจากลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ทราบว่าลูกจ้างขอดำเนินการก่อนลาออกจากกองฯ ได้หรือไม่

A : ตามหลักเกณฑ์ ลูกจ้างต้องแสดงเจตนาหรือแจ้งกรรมการกองทุนว่าจะขอโอนเงินไป RMF ภายใน 30 วัน นับแต่สิ้นสมาชิกภาพ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดเวลาที่ช้าที่สุดที่ลูกจ้างสามารถแสดงเจตนาได้ หากเลยเวลาที่กำหนดและลูกจ้างยังไม่แจ้ง บริษัทจัดการต้องจ่ายเงินออกจากกองทุนให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้นหากลูกจ้างจะแจ้งก่อน ก็สามารถทำได้ แต่การโอนเงินไป RMF บริษัทจัดการต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับเอกสารครบถ้วนจากกรรมการ 

 

Q : สมาชิกต้องติดต่อกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพด้วยตัวเองใช่หรือเปล่า

A : ใช่ค่ะ เมื่อลูกจ้างลาออกจากกองทุน และมีวัตถุประสงค์โอนเงินไป RMF ลูกจ้างต้องไปติดต่อบริษัทจัดการกองทุนรวม เพื่อขอรับคำแนะนำในการลงทุนจากเจ้าหน้าที่บริหารจัดการ กรณีตัดสินใจโอนย้ายงิน PVD ไป RMF นั้น ลูกจ้างต้องนำเอกสารจากบริษัทจัดการ RMF ไปแสดงให้บริษัทจัดการ PVD ทราบข้อมูลเพื่อโอนเงินไปได้ถูกต้อง 

 

Q : กรณีเรื่องการหักภาษี เงินที่ถูกโยกไปอยู่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF for PVD) สามารถนำไปหักภาษีได้หรือไม่

A : ไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่โอนมาจาก PVD ไม่ถือเป็นเงินลงทุนใหม่เหมือน RMF ทั่วไป ซึ่งเงินที่โอนจาก PVD กรมสรรพากรได้ให้สิทธินำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีแล้ว 

 

Q : ส่วนกรณีผู้ที่อยู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมานาน ทำให้มีเงินก้อนมาก แต่เมื่อย้ายไปอยู่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว กฎระเบียบการหักภาษีเป็นอย่างไร 

A : การโอนเงินจาก PVD ไปยัง RMF for PVD มีหลักการเสมือนการคงเงินไว้ใน PVD คือสมาชิกไม่ต้องซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม อายุสมาชิกจะนับต่อเนื่องจากอายุการเป็นสมาชิกใน PVD ที่โอนไปกับอายุการถือหน่วยลงทุนใน RMF 

สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็เช่นเดียวกับ PVD คือ เมื่อมีอายุสมาชิกที่นับรวม PVD และ RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี + อายุตัวของสมาชิกไม่น้อยกว่า 55 ปี หากนำเงินออกจาก RMF ก็ได้รับยกเว้นภาษี ทั้งจำนวน แต่กรณีที่สมาชิกทำผิดเงื่อนไขขายคืนก่อนกำหนดเวลา ก็ต้องนำเงินที่ได้รับไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

 

Q : การย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอย่างไร 

A : ค่าธรรมเนียมกองทุน RMF กำหนดโดยบริษัทจัดการ ซึ่งแตกต่างกันตามนโยบายการลงทุนอยู่แล้ว เช่น นโยบายตราสารหนี้จะถูกกว่านโยบายหุ้น หรือต่างประเทศ เป็นต้น 

ดังนั้น การโอนย้ายเงินจาก PVD มา RMF ไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมการโอนย้าย เพราะถือเป็นการจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกตามปกติ จึงไม่มีค่าธรรมเนียมพิเศษในการโอนย้ายจาก PVD ไป RMF ซึ่งผู้ที่ขอโอนเงินไป RMF ควรศึกษาข้อมูลหรือ ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ขายกองทุนให้ละเอียด เช่น นโยบายเป็นอย่างไร ความเสี่ยงอยู่ระดับไหน ค่าธรรมเนียมมีอะไรบ้าง เท่าใดเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะซื้อหน่วยลงทุนกองใดที่เหมาะสมกับลูกจ้างแต่ละราย 

 

Q : ประโยชน์ของการย้ายกองทุน PVD ไป RMF 

A : ทำให้มีเงินใช้ยามเกษียณอย่างแท้จริง เพราะเป็นการหาช่องทางนำเงินที่เก็บไปวางไว้ในที่ที่เหมาะสม และทำให้เงินดังกล่าวอยู่ในระบบ ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะถ้าหากนำเงินออกมาเร็วกว่ากำหนด เงินจะถูกนำไปใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว
 

ที่มา: http://www.moneychannel.co.th/news_detail/10136

---------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog
www.facebook.com/wealthcreationpage

Pitiphong Roongruengvuthikul
Admin
By