Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/All/319/9-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-RMF): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78
RMF ย่อมาจากคําว่า “Retirement Mutual Fund” หรือเรียกในชื่อว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนที่ ส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ คล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ลงทุนใน RMF ก็คือ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเงินที่จ่ายเพื่อลงทุนใน RMF สามารถนำมาหักลดหย่อนจากเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษี ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือได้ภาษีที่เสียกลับคืนนั่นเอง
เรามาดูกันว่าสิ่งที่คนเข้าใจผิดมีอะไรบ้าง?
1. คิดว่า RMF เหมาะกับคนที่อายุมากเท่านั้น เรื่องของการเกษียณเป็นเรื่องที่ทุกคนหนีไม่พ้น การเริ่มเก็บออมตั้งแต่อายุน้อยจะช่วยสร้างวินัย ดังคำที่ว่า "ออมก่อนรวยกว่า"
2. คิดว่าลงทุนใน RMF แล้วต้องลงทุนเท่ากันทุกปี ความจริงแล้วเพียงแต่ลงทุนตามเกณฑ์ขั้นต่ำ 3% หรือ 5,000 บาทและห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3. คิดว่าลงทุนใน RMF แล้วต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ห้ามเว้นเกิน 1 ปี แล้วปีที่ไม่ได้ลงทุนก็จะไม่ถูกนับจำนวนปีที่ลงทุน
4. คิดว่าลงทุนใน RMF แล้ว ต้องลงทุนในกองทุนเดิมตลอดไป ความจริงแล้วลงทุนปีนี้กับปีหน้าก็ลงคนละกองทุน คนละ บลจ.ได้ หรือปีเดียวกันลงทุนคนละกองก็ยังได้
5. คิดว่าลงทุนแล้วต้องถือกองทุนเดิมตลอดไป ที่จริงแล้ว RMF สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ จะเปลี่ยนกองภายใน บลจ.เดียวกัน หรือจะโยกข้าม บลจ. ก็ได้ เพียงแต่ต้องดูค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนด้วย
6. คิดว่า RMF มีกองที่จ่ายปันผล ตามเงื่อนไขแล้ว กองทุน RMF ห้ามจ่ายปันผล เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เก็บออมระยะยาวไว้ใช้ยามเกษียณ ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้มาในแต่ละปี จะถูกนำไปลงทุนต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
7. คิดว่า RMF ต้องลงทุนในหุ้น มีความเสี่ยง ความจริงแล้ว RMF ไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นอย่างเดียว มีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย แบบเสี่ยงต่ำๆก็มี เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้ภาคเอกชน แต่ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็ต่ำด้วย แต่ก็ยังดีกว่าไปเก็บในธนาคาร
8. คิดว่า RMF มีทางเลือกการลงทุนน้อย ความจริง RMF สามารถกระจายสินทรัพย์การลงทุนได้ ทั้งในหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน รับความเสี่ยงได้แค่ไหน หรือชอบอะไรก็ลงทุนในสินทรัพย์นั้นได้
9. การนับระยะเวลาการลงทุน RMF แตกต่างจาก LTF ,LTF นับตามปีปฏิทิน แต่ RMF นับวันชนวัน
by Bird Teerapat (Wealth Strategist) - WCI
---------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog
www.facebook.com/wealthcreationpage