?หักภาษี ณ ที่จ่าย? กับ ?ไม่ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย? ต่างกันยังไง?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า "ทำไมในแบบฟอร์มเปิดบัญชีกองทุนรวมต้องมีช่องคำสั่งเกี่ยวกับการหักภาษีสำหรับเงินปันผลให้เลือก?"
 

ระหว่าง “หักภาษี ณ ที่จ่าย” กับ “ไม่ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย” ควรเลือกช่องไหนดี?


ก่อนอื่น ตามกฎหมายแล้วผู้มีเงินได้จากเงินปันผล มีสิทธิเลือกเสียภาษีได้ 2 ประเภท 

1. เสียภาษีเงินได้ในอัตรา 10% ตามที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
2. เสียภาษีโดยนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณกับรายได้อื่น เพื่อเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ปกติ (5-35%)


แต่เงินปันผลที่จะไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตามข้อ 2. เพื่อยื่นแบบเสียภาษีนั้น ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกงวดที่ได้รับในปีภาษีนั้น

 

หากมีกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่ได้เลือกหัก ณ ที่จ่ายไว้ ก็จะต้องนำเงินปันผลจากกองทุนรวมทั้งหมดที่ได้รับในปีภาษีนั้นมาคำนวณเพื่อเสียภาษี ไม่ได้เลือกเอาเฉพาะเงินปันผลจากกองทุนที่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายมาคำนวณ

 

ดังนั้นหากท่านเสียภาษีในอัตราเกิน 10% แล้วมีเงินปันผลบางกองทุนที่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ก็จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมตามอัตราภาษีปกติจากรายได้เงินปันผลในปีนั้น


เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ภาษีอยู่แล้ว ก็คือ ให้เลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลไว้ทุกครั้ง


ถ้าเกิดปีใดมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 10% ค่อยนำเงินได้จากเงินปันผลทั้งหมดมารวมเป็นเงินได้ของปีเพื่อยื่นแบบเสียภาษี และขอคืนส่วนที่หัก ณ ที่จ่ายไปแล้วภายหลังได้


ทุกครั้งเวลาเปิดบัญชีกองทุนรวม ผมก็เลยจะแนะนำให้เลือก "หัก ณ ที่จ่าย" ไว้ดีกว่าครับ

credit : Bird Teerapat (Wealth Stretagist) - WCI
----------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog.php
www.facebook.com/wealthcreationpage

Pitiphong Roongruengvuthikul
Admin
By