Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/All/318/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-CPALL-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9E.%E0%B8%A2.59): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78
ผมเห็นว่าน่าสนใจ และบางคนอาจจะไม่คุ้นกับหุ้นกู้ลักษณะนี้ เลยสรุปมาให้ครับ
1. หุ้นกู้ก็คือตราสาร ที่ออกโดยบริษัทต่างๆ เมื่อบริษัทต้องการระดมเงิน ก็จะออกหุ้นกู้ขายให้นักลงทุน หุ้นกู้มีลักษณะคล้ายการกู้เงิน นักลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าหนี้” บริษัทมีฐานะเป็น “ลูกหนี้” โดยผู้ซื้อหุ้นกู้ก็จะได้ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ตามที่ลูกหนี้สัญญาไว้ และเมื่อถึงกำหนดเวลาที่กำหนด ก็จะคืนเงินต้นให้แก่ผู้ลงทุน
2. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Bond) ก็คือ เราจะเป็นเจ้าหนี้ลำดับที่เป็นรองจากเจ้าหนี้รายอื่นๆ เช่น เจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้ไม่มีประกัน (บางทีก็เรียกเจ้าหนี้สามัญเช่น เจ้าหนี้การค้าของผู้ออกหุ้นกู้) และเจ้าหนี้บุริมสิทธิ (เช่น กรมสรรพากร) ดังนั้น ถ้าผู้ออกหุ้นกู้เกิดล้มละลายขึ้นมา เราในฐานะเจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธินี้จะได้รับชำระเงินคืนก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ในลำดับเหนือกว่า ซึ่งก็คือพวกเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้สามัญ และเจ้าหนี้บุริมสิทธิพวกนั้นได้รับชำระหนี้ส่วนของเขาครบถ้วนแล้วเท่านั้น
3. หุ้นกู้ "ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน" ก็คือหุ้นกู้ที่ไม่มีกำหนดชำระคืนเงินต้น (Perpetual Bond) เป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีกำหนดวันหมดอายุ คล้ายๆกับเป็นหุ้นสามัญกลายๆ จะได้เงินต้นคืนก็ต่อเมื่อบริษัทจะเลิกกิจการ หรือเมื่อบริษัทใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด แต่ในระหว่างทางก็จะมีการจ่ายดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด และถ้าบริษัทล้มละลาย เราในฐานะเจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธินี้จะได้รับชำระเงินคืนก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ในลำดับเหนือกว่าได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว
4. ความเสี่ยงของหุ้นกู้ ก็คือ บริษัทที่ออกหุ้นกู้ ไม่สามารถชำระดอกเบี้ย หรือ เงินต้นให้แก่นักลงทุนได้ ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งตรงนี้ไม่น่าเป็นห่วงมาก ถ้าบริษัทไม่ใกล้เจ๊งจริงๆ หรือ เกิดวิกฤตจริงๆ คงจะไม่มีปัญหา
5. โดยปกติแล้วการเสนอขายหุ้นกู้ให้กับนักลงทุนทั่วไปจะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ออกจากบริษัทจัดอันดับเครดิต เป็นการสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้สำหรับหุ้นกู้ตัวนั้นๆ สำหรับหุ้นกู้ 7-11 ตัวนี้ ได้รับการจัดอันดับเครดิตจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ลำดับ BBB ถือว่ามีความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ในระดับปานกลาง
6. ผลตอบแทนของหุ้นกู้ 7-11 ในช่วง 5 ปีแรกให้ดอกเบี้ยที่ 5.0% ต่อปี ส่วนปีที่ 6-10 ให้เท่ากับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี บวกด้วย Initial Credit Spread บวกด้วย 0.50% ต่อปี และปีที่ 11-50 ให้เท่ากับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี บวกด้วย Initial Credit Spread บวกด้วย 1.00% ต่อปี
ตั้งแต่ปีที่ 51 ให้เท่ากับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี บวกด้วย Initial Credit Spread บวกด้วย 2.00% ต่อปี
ซึ่งดอกเบี้ยจะปรับทุกๆ 5 ปี โดยอ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี โดยที่ Initial Credit Spread จะคงที่เท่ากับ 3.13% ต่อปี
ตัวอย่างการคำนวณ เช่นปีที่ 6 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี เท่ากับ 2.50% ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยในปีที่ 6-10 เท่ากับ 2.50% บวกด้วย Initial Credit Spread 3.13% บวกด้วย 0.50% ต่อปี หรือ 6.13% ต่อปี
7. ผลตอบแทนที่ได้รับจากหุ้นกู้ ถือเป็นเงินได้จากดอกเบี้ยที่จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ก็คือหากลูกหนี้กำหนดว่าจะจ่ายดอกเบี้ย 5% ก็จะถูกหักภาษีไว้ 15% จะได้รับผลตอบแทนสุทธิ 4.25%
8. หุ้นกู้นี้ทางบริษัทสามารถไถ่ถอนได้ก่อนกำหนดหลังครบอายุ 5 ปี คือในกรณีที่บริษัทอาจจะมีเงินสดที่เพียงพอในการชำระหนี้ทั้งก้อน หรือบริษัทเห็นว่าดอกเบี้ยเริ่มสูง อาจจะออกหุ้นกู้ตัวใหม่ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่ามาคืนหุ้นกู้ตัวนี้
9. โดยปกตินักลงทุนทั่วไปในบ้านเราที่ซื้อหุ้นกู้บริษัทเอกชนมักจะถือหุ้นกู้พวกนี้เป็นการลงทุนระยะยาวไปเลยและไม่ค่อยขาย แต่ระหว่างที่ถือถ้าต้องการใช้เงินด่วนขึ้นมา เราก็สามารถนำหุ้นกู้พวกนี้มาขายเปลี่ยนมือได้ ในตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange หรือ BEX) ซึ่งเป็นตลาดรอง คล้ายตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือซื้อขายกับคนที่สนใจ หรือฝากธนาคารให้ช่วยหาคนซื้อให้ก็ได้ ถ้ามีการตกลงซื้อขายกันได้ ก็แค่เซ็นโอนกันด้านหลังของใบหุ้นกู้ เพียงแต่เราอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนหุ้นกู้ที่ถืออยู่เป็นเงินสดได้ในเวลาที่ต้องการ หรือในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นเราควรมีแผนการเงินที่ชัดเจนในการลงทุน
10. หุ้นกู้ประเภทนี้ มุมมองผมว่าเหมาะสำหรับคนที่ต้องการได้รับดอกเบี้ยที่แน่นอนและสม่ำเสมอ เพื่อนำมาไว้ใช้จ่าย โดยไม่ต้องใช้เงินต้น เป็นอีกทางเลือกนอกจากการฝากเงินกับธนาคารหรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่น โดยที่ลูกหลาน หรือทายาทก็ยังได้ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ตราบใดที่บริษัทไม่เลิกกิจการ หรือไม่ไถ่ถอนหุ้นกู้คืน
จากข่าวว่าจะออกมาทั้งหมด 10,000 ล้านบาท โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัดจำหน่าย ผมคาดว่าไม่น่าจะเหลือมาถึงนักลงทุนรายย่อยเท่าไหร่ น่าจะโดนนักลงทุนสถาบัน พวกกองทุนรวม กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงบริษัทประกัน จองซื้อหมด
source: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/723701
by Bird Teerapat (Wealth Strategist) - WCI
---------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog
www.facebook.com/wealthcreationpage