Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/All/275/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%9A-): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78 ทำไมกองทุนตราสารหนี้ถึงมีติดลบ? - วางแผนทางการเงิน : Wealth Creation
Blog
ติดตาม Wealth Creation

ในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำติดดินแบบนี้ ทำให้กองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) ได้รับความนิยมจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก และมีความเสี่ยงต่ำ


วันนี้ผมจะพาไปดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนตราสารหนี้ยอดนิยมในตลาด คือ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ (K-FIXED) กองทุนเปิดทหารไทย ธนไพบูลย์ (TMBABF) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารหนี้พลัส (SCBFP) (ข้อมูลจาก FinApp)


นักลงทุนหน้าใหม่ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุนตราสารหนี้ "ทำไม กองทุนตราสารหนี้ที่ว่าเสี่ยงต่ำๆ บางที เราเห็น NAV กองทุนติดลบ?"


กองทุนรวมตราสารหนี้ต้องมีการ Mark to Market ราคาตราสารทุกวัน เพื่อสะท้อนฐานะและมูลค่าตามความเป็นจริงในแต่ละสิ้นวัน ไม่ให้เกิดการได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบ สำหรับนักลงทุนเก่า และนักลงทุนใหม่ จึงทำให้ในบางวันเราจึงเห็น NAV กองทุนติดลบ
 

Mark to Market ก็คือ วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนถืออยู่ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ฯลฯ ให้เป็นมูลค่าตามตลาดหรือราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุด ที่เกิดการซื้อขายจริงๆในวันนั้นๆ หรือวันก่อนก่อนหน้า เสมือนว่า ถ้าเราขายตราสารในวันนั้น จะได้เงินคืนเท่าไหร่


แล้วราคาตราสารหนี้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ยังไง


สมมติ ตราสารหนี้ที่กองทุนถืออยู่ให้อัตราผลตอบแทนคือ 4% ถ้า กนง.ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในตลาด ตราสารหนี้ที่ออกใหม่มีอายุตราสารเท่ากัน และความเสี่ยงเท่ากัน ก็ต้องได้ผลตอบแทนสูงขึ้น สมมติ เพิ่มเป็น 5% ก็เท่ากับว่า ตราสารเดิม ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ตลาดให้อยู่ 1.00% ถ้าเป็นอย่างนี้ หากจะขายให้คนอื่น ใครจะซื้อ ในเมื่อของใหม่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เว้นแต่จะต้องเพิ่มแรงจูงใจ ด้วยการลดราคาตราสารลง จึงทำให้มูลค่าตราสารที่กองทุนรวมถืออยู่ลดลง


และในทางกลับกัน ถ้าวันนี้ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่มีอายุตราสารเท่ากัน และความเสี่ยงเท่ากัน ก็ต้องได้ผลตอบแทนลดลง สมมติ ลดลงเป็น 3% ก็เท่ากับว่า ตราสารเดิม ให้ผลตอบแทนมากกว่าที่ตลาดให้อยู่ 1.00% คนที่อยากได้ตราสารที่กองทุนถืออยู่ ก็จะต้องเพิ่มแรงจูงใจ ด้วยการเพิ่มราคาตราสาร จึงทำให้มูลค่าตราสารที่กองทุนรวมถืออยู่สูงขึ้น


เนื่องจากตราสารหนี้ที่กองทุนถืออยู่กว่าจะได้เงินคือครบกำหนด ดังนั้นระหว่างทาง จึงต้องใช้วิธี Mark to Market และบวกกับดอกเบี้ยรับของตราสารหนี้นั้นๆเข้าไป โดยส่วนของการ Mark to Market นั้นดูจากราคาตราสารที่ตกลงซื้อขายกันในตลาด ที่เกิดขึ้นจริงๆล่าสุดของวันนั้นๆ ว่าเป็นเท่าไหร่ แล้วนำมาเป็นราคาอ้างอิง ก็เลยเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลง NAV ทุกๆวัน


ถ้าดอกเบี้ยในตลาดปรับลด ราคาตราสารที่ซื้อขายในตลาด จะมีราคาสูงขึ้น ก็จะทำให้ NAV ของกองทุนสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าดอกเบี้ยในตลาดปรับขึ้น ราคาตราสารที่ซื้อขายในตลาด จะมีราคาลดลง ก็จะทำให้ NAV ของกองทุนต่ำลง


ดังนั้น เราจึงเห็นการติดลบในบางช่วงเวลาของการลงทุนในกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ นั่นเองครับ

 

by Bird Teerapat - Wealth Strategist (WCI)

---------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog
www.facebook.com/wealthcreationpage

Pitiphong Roongruengvuthikul
Admin
By