Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/All/190/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78
เวลาออกจากงาน เราจะได้รับเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราและนายจ้างส่งเงินเข้ากองทุนทุกเดือน ส่วนจะได้ส่วนของนายจ้างเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของนายจ้าง ซึ่งตามกฎหมายถ้าไม่ได้ออกจากงานเพราะเหตุเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรืออายุครบ 55 ปี เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือเป็นเงินได้ที่จะต้องนำมาเสียภาษี ยิ่งถ้าเราทำงานมานาน มีเงินสะสมเยอะ และนายจ้างก็สมทบให้เยอะด้วย เงินก้อนตรงนี้ก็จะมีมูลค่ามากและทำให้ต้องเสียภาษีมากตามไปด้วย
แล้วมีวิธีการคำนวณภาษียังไง
สำหรับเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะต้องนำมาคำนวณภาษี ประกอบด้วย เงินสมทบ (นายจ้าง) ผลประโยชน์ของเงินสะสม (ดอกผลของเงินที่ลูกจ้างสะสม) และผลประโยชน์ของเงินสมทบ (ดอกผลของเงินที่นายจ้างสมทบ) ส่วนเงินสะสม (ลูกจ้าง)จะได้รับการยกเว้นภาษี
กรณีออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี ถ้าระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ต้องนำเงินได้ไปคำนวณภาษี รวมกับเงินได้อื่น เช่นเงินเดือน ค่าคอมมิชชั่น โบนัส ฯลฯ แต่ถ้าระยะเวลาทำงานเกิน 5 ปี สามารถใช้ใบแนบในการคำนวณภาษี ซึ่งจะมีสูตรในการคำนวณที่ให้สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาทำงาน
ถ้าไม่อยากเสียภาษี จะทำยังไงได้บ้าง
1. คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม
เราสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้ ตราบใดที่ยังไม่ได้เอาเงินออกมาก็ยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องดูว่าข้อบังคับกองทุนนั้นเปิดโอกาสให้สามารถคงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ทั้งนี้การคงเงินไว้ทางผู้บริหารกองทุนจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้ และในระหว่างที่คงเงินไว้ เงินที่คงไว้ก็จะถูกนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามปกติเหมือนเดิม
2. โอนเงินจากกองทุนเดิมมาออมต่อในกองทุนใหม่
หากนายจ้างใหม่มีการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน สมาชิกสามารถขอโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมมาออมต่อในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ได้ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเพราะสมาชิกไม่ได้รับเงินออกจากกองทุนแต่อย่างใด
3. โอนเงินจากกองทุนเดิมไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
ถ้ากองทุนเดิมไม่ให้คงเงินไว้ หรือนายจ้างใหม่ไม่ได้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราสามารถโอนเงินจากกองทุนเดิมไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)แทนได้ ข้อดีของการโอนไปยัง RMF คือลูกจ้างมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้จำนวนเงินที่โอนย้ายมายัง RMF จะไม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เพราะไม่ใช่การซื้อ RMF แล้วก็ไม่ใช่โอนย้ายไป RMF ได้ทุกกองนะ ต้องเช็คก่อนว่ากอง RMF ใดที่รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบ้าง ที่ผมเห็นตอนนี้ก็มี RMF ของ บลจ.ทหารไทย
ดังนั้นก่อนที่จะลาออกจากงาน วางแผนให้รอบคอบ ก็สามารถประหยัดภาษีได้
---------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog
www.facebook.com/wealthcreationpage