Warning: file_get_contents(http://graph.facebook.com/?id=http://wci.co.th/article/All/105/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%AD): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/wci/domains/wci.co.th/public_html/blog-detail.php on line 78
ช่วงเดือนมีนาคมนี้ก็เป็นช่วงที่หลายๆ คน กำลังจะยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีที่ผ่านมากันแล้ว แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น ผมมีคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณสามารถประหยัดภาษีได้มากขึ้น หรือพูดง่ายๆ คือ มันจะทำให้คุณมีเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ..ดีมั้ยครับ?
เคยสังเกตไหมครับว่า พวกดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งในอัตรา 15% ของเงินได้
แต่รู้มั้ยครับว่าผู้มีเงินได้จากพวกดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ มีสิทธิเลือกเสียภาษีได้ด้วย!..
1. เลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 15% ตามที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
หรือ 2. เลือกเสียภาษีโดยนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับรายได้อื่น ตามแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ปกติ
ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
..เลือกรวม หรือไม่รวมเสียภาษีปลายปีดีกว่า?
การเลือกรวมหรือไม่รวมเงินได้เพื่อเสียภาษี มีผลต่อฐานภาษี
เงินได้สุทธิสูง ----> อัตราภาษีสูง
เงินได้สุทธิต่ำ ----> อัตราภาษีต่ำ
ขอยกตัวอย่างแบบง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ สมมติว่า
คุณจักรพันธ์ มีรายได้จากเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท และมีรายได้ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้จำนวน 40,000 บาท ซึ่งได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของเงินได้ เท่ากับ 6,000 บาท
ที่ผ่านมายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะรายได้จากเงินเดือน คุณจักรพันธ์จะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินเดือน 5,550 บาท และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยหุ้นกู้ 6,000 บาท รวมภาษีที่คุณจักรพันธ์ต้องเสียทั้งหมด 11,550 บาท
แต่ถ้าใช้วิธีนำเงินได้จากดอกเบี้ยหุ้นกู้มารวมคำนวณกับรายได้จากเงินเดือนแล้ว คุณจักรพันธ์จะเสียภาษีเงินได้ทั้งหมด 7,600 บาท ประหยัดภาษีลง 3,950 บาท หรืออัตราภาษีที่แท้จริงลดลง 1%
จะเห็นได้ว่า การนำเงินได้จากดอกเบี้ยหุ้นกู้มารวมคำนวณ ทำให้เงินได้สุทธิสูงขึ้น แต่โดยรวมแล้วภาษีที่ต้องเสียน้อยกว่าวิธีการไม่รวมคำนวณ ทำให้ผู้มีเงินได้สามารถประหยัดภาษีลงอีก ก็เลยส่งผลให้มีเงินเหลือเพื่อนำไปเก็บออมหรือนำไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นได้มากขึ้น
การที่ผู้มีเงินได้จะเลือกว่า “รวม" หรือ "ไม่รวมคำนวณ”
ต้องเปรียบเทียบจำนวนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ และหากว่าคุณไม่มั่นใจว่า ควรรวมหรือไม่รวมคำนวณดี แนะนำให้ลองคำนวณภาษีดูว่าแบบไหนช่วยให้ประหยัดภาษีมากกว่ากันดูก่อนครับ
สำหรับผู้ที่กังวลว่า ถ้าเลือก “ไม่นำเงินได้จากดอกเบี้ยรวมคำนวณ” จะมีผลต่อการซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF หรือไม่
เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ซื้อเกินสิทธิล่ะก็ หายห่วง!!
ทางกรมสรรพากรได้ออกคำชี้แจงมาเมื่อ 11 มกราคม 2559
ผู้มีเงินได้สามารถนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นมาเป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นหรือไม่ก็ตาม
อ้างอิงจาก : http://bit.ly/1JHOrre
เห็นไหมครับว่าแค่เราคิดคำนวณเพิ่มขึ้นอีกนิด มีการวางแผนที่ดีเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ก็จะทำให้เราประหยัดภาษีลงได้พอสมควรเลยทีเดียว แค่นี้กระเป๋าตังเราก็พองขึ้นโดยแทบจะไม่ต้องออกแรงอะไรเลย เยี่ยมไปเลย!
credit : Bird Teerapat (Wealth Strategist) - WCI
----------------------------
แบ่งปันความมั่งคั่งอย่างมั่นคงโดย
Wealth Creation
www.wci.co.th/blog.php
www.facebook.com/wealthcreationpage